หน้าเว็บ

ฺKMS Scharnhorst

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, มหาสมุทร, สถานที่กลางแจ้ง และ น้ำ
German battleship Scharnhorst

เรือลาดตระเวนประจัญบานชาร์นฮอร์สต์ ที่ได้เป็นเรือลำเเรกในชุดของเรือลาดตระเวนประจัญบานชาร์นฮอร์สต์ ที่ตามมาด้วยเรือลาดตระเวนประจัญบานไกน์เซเนาด้วยอีกหนึ่งลำ


ชาร์นฮอร์สต์ ได้ทำการวางกระดูกงูเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1935 โดยบริษัทครีกส์มารีนเวร์ฟท์ ที่วิลเฮมส์ฮาเว่น เเละได้ขึ้นระวางประจำการเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ.1939 ที่นับว่าเป็นเรือรบหุ้มเกราะที่มีหมู่ปืนหลักขนาด 11 นิ้วเเบบเเฝดถืง 3 เเท่น ที่ในอนาคตนั้นมีเเผนการที่จะเปลี่ยนไปเป็นเเบบเเท่นคู่ขนาด 15 นิ้วเเทนเเต่ก็ไม่ได้รับการดำเนินการเเต่อย่างใด

ชาร์นฮอร์สต์และไกน์เซเนา ได้ออกปฏิบัติการร่วมกัน ในช่วงต้นๆ ของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่บริเวณมหาสมุทรแอตแลนติก เพื่อเข้าโจมตี เหล่าเรือพาณิชย์ของอังกฤษ ซึ่งในระหว่างช่วงต้นๆของการปฏิบัติการ ชาร์นฮอร์สต์ ก็สามารถจมเรือพาณิชย์ติดอาวุธ เอชเอ็มเอส ราวัลปินดี ลงได้ในช่วงของเดือนพฤศจิกายน ค.ศ.1939

ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-มิถุนายน ของปีค.ศ.1940 ทั้งชาร์นฮอร์สต์ และไกน์เซเนา ก็ได้ร่วมรบในปฏิบัติการแวร์เซอร์รีบุง ที่นอร์เวย์ เเละในระหว่างปฏิบัติการอยู่ที่นั่น เรือทั้ง 2 ก็ได้เข้าประจัญบานกับ เรือลาดตระเวนประจัญบาน เอชเอ็มเอส รีนาว์น และสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน เอชเอ็มเอส กลอเรียส ที่ยิ่งไปกว่านั้น ชาร์นฮอร์สต์ ยังสามารถเข้าต่อกรกับ เรือพิฆาต เอชเอ็มเอส อาคัสต้า เเละ เอชเอ็มเอส อาร์เดนท์ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากการปฏิบัติการในครั้งนี้ส่งผลให้ ชาร์นฮอร์สต์ ได้รับการบันทึกว่า เป็นเรือรบที่สามารถยิงโดนเรือรบของฝ่ายข้าศึกได้ไกลที่สุดในประวัติศาสตร์ ด้วยระยะทางจาก ชาร์นฮอร์สต์ จนถึง เอชเอ็มเอส กลอเรียส ประมาณ 26,400 หลา เลยทีเดียว

ในช่วงต้นๆปีค.ศ.1942 หลังจากเยอรมันถูกโจมตีอย่างหนักโดยฝ่ายอังกฤษ เรือทั้ง2ก็ได้เข้าร่วมกันปฏิบัติการโจมตีในบริเวณช่องเเคบอังกฤษ จากพื้นที่ครอบครองของฝรั่งเศสมาจนถึงเยอรมัน

ในปีค.ศ.1943 ชาร์นฮอร์สต์ก็ได้ปฏิบัติการร่วมกับเรือประจัญบานเทียร์พิตซ์ พร้อมกับเรือพิฆาตอีกหลายลำ ที่นอร์เวย์ เพื่อเข้าสกัดกั้นและทำลาย กองเรือของฝ่ายพันธมิตรที่เดินทางมุ่งหน้าไปยังสหภาพโซเวียต

ท้ายที่สุดเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.1943 ในยุทธนาวีที่นอร์ธเคป ฝ่ายกองเรือเยอรมันที่ประกอบไปด้วย ชาร์นฮอร์สต์ เเละเหล่าเรือพิฆาตอีกไม่กี่ลำ ก็ได้ถูกกองเรือลาดตระเวนของฝ่ายอังกฤษเข้าสกัดกั้น ที่ในขณะนั้น ชาร์นฮอร์สต์ ถือว่าเป็นเป้าหมายหลักของฝ่ายราชนาวีอังกฤษในขณะนั้น เเละซึ่งจากการระดมยิงของเรือประจัญบาน เอชเอ็มเอส ดยุก ออฟ ยอร์ก เเละเหล่ากองเรือรบที่ติดตามมา ส่งผลให้ในที่สุด ณ เวลา 19:45 น. ชาร์นฮอร์สต์ ก็ได้จมลงพร้อมๆกับลูกเรือกว่า 1,968 นาย ที่มีลูกเรือเพียง 36 ชีวิตเท่านั้นที่สามารถรอดชีวิตจากจมของเรือลาดตระเวนประจัญบานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกองทัพเรือเยอรมัน




เครดิตรูปhttps://www.facebook.com/warshipthai/





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น