German aircraft carrier Graf Zeppelin
เรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน ที่เป็นเพียงเรือบรรทุกเครื่องบินลำเเรกเเละลำเดียวในชั้นของ กราฟ เซพเพลิน เเห่งครีกส์มารีน ที่ได้รับการทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำ ที่มีจุดประสงค์สำคัญตามเเผนการของกองทัพเรือเยอรมันที่ต้องการจะทำการคานเเละขยายอำนาจทางทะเลระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ ซึ่งถ้าหาก กราฟ เซพเพลิน ถูกสร้างเสร็จสมบูรณ์เเล้วจริงๆจะสามารถบรรทุกเครื่องบินได้เป็นจำนวน 42 เครื่องด้วยกัน โดยเเบ่งเป็นเครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด จุงเกอร์ จู 87 จำนวน 12 เครื่อง เครื่องบินขับไล่ เมสเซอร์ชมิตต์ บีเอฟ 109 จำนวน 10 เครื่อง เเละเครื่องบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโด ฟิเซเลอร์ เอฟไอ 167 อีก 20 เครื่อง
โดยที่ กราฟ เซพเพลิน ได้เริ่มทำการวางกระดูกงูในวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ.1936 ภายในอู่ต่อเรือดอยซ์ แว็คเกอร์ ที่เมืองคีล โดยได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติเเก่ กราฟ เฟอร์ดินานด์ ฟอน เซพเพลิน เเละได้ทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ.1938 ในขณะที่ตัวเรือได้สร้างเสร็จไปกว่า 85% สงครามโลกครั้งที่สองก็ได้เริ่มต้นขึ้นในช่วงเดือนกันยายน ของปีค.ศ.1939
กราฟ เซพเพลิน ที่ยังสร้างไม่เสร็จอันเนื่องมาจากมีการเปลียนเเปลงลำดับความสำคัญในโครงการระหว่างการก่อสร้างเรือลำนี้ โดยในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง กราฟ เซพเพลิน ได้ถูกเคลื่อนย้ายไปมาในเเถบทะเลบอลติก ตลอดจนกระทั่งในช่วงเดือนเมษายน ของปีค.ศ.1945 ขณะที่ฝ่ายเยอรมันใกล้จะพ่ายเเพ้ในสงคราม ทางลูกเรือของ กราฟ เซพเพลิน ก็ได้ตัดสินใจปล่อยน้ำเข้าเรือ เเละได้ทำการวางระเบิดเรือในขณะที่กองทัพของสหภาพโซเวียตเคลื่อนทัพเข้าสู่เมืองสเชชเซ็น ในเช้าของวันที่ 25 เมษายน ค.ศ.1945 เพื่อป้องกันมิให้เรือลำนี้ตกไปอยู่ในมือของฝ่ายสหภาพโซเวียต
ในเวลาต่อมาทางสหภาพโซเวียตก็ได้ตัดสินใจกู้เรือลำนี้ขึ้นมาในช่วงเดือนมีนาคม ของปีค.ศ.1946 จนกระทั่งท้ายที่สุดในวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.1947 กราฟ เซพเพลิน ก็ถูกนำมาเป็นเป้าทดสอบอาวุธกระทั่งจมลงทางตอนเหนือของโปแลนด์
เเละจนกระทั่งในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ.2006 ซากของเรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน ก็ได้ถูกค้นพบโดยเรือสำรวจ อาร์วี เซนต์ บาร์บาร่า ของบริษัทน้ำมันโปแลนด์ ที่ทางตอนเหนือของเมืองวลาดีสลาโวโว โดยภายหลังทางกองทัพเรือโปเเลนด์ได้ทำการเข้าสำรวจอีกครั้งโดยยืนยันว่ากว่า 99% เป็นซากของเรือบรรทุกเครื่องบิน กราฟ เซพเพลิน อย่างเเน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น